วันอังคารที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

กิจกรรมเสริมเพิ่มสีสันแห่งผืนป่า


แก่งหินเพิง มียอดกำเนิดจากยอดเขาใหญ่เริ่มต้นจากน้ำตกวังเหวไหลลงมาถึงแก่หินเพิงระยะทางประมาณ 80 กิโลเมตร ด้วยทรัพยากรที่เพียบพร้อม ก่อเกิด กิจกรรมล่องแก่ง หินเพิง เป็นกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงนิเวศกิจกรรมยอดนิยมของคนผจญภัยหัวใจสีเขียวจะมาเยือนในช่วงฤดูฝน โดยใช้เรือยางนั่งได้ 8 คน ผ่านแก่งต่าง ๆ ที่มีระดับความยากง่ายของสายน้ำอยู่ที่ 3-5มีแก่งหินที่ทำให้หัวใจของทุกคนบนลำเรือยางเต้นแรง กระแสน้ำไหลพาเรือแล่นปะทะโขดหิน ทำให้เกิดกระแสน้ำวนไหลแรง ผู้นำล่องแก่งจึงต้องใช้ฝีมือและทักษะในการพายรวมทั้งต้องใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษ ร่วมแรงร่วมใจช่วยกันพายเพื่อให้พ้นกับการปะทะกับแก่งหินและป้องกันเรือพลิกคว่ำและบางจุดกระแสน้ำจะเบา ทุกคนก็จะสนุกสนานกับการลอยคอยคอในลำธารใสที่สามารถแวะพักเหนื่อยเล่นน้ำเย็นกันได้
เพื่อความสนุกสนานควบคู่กับความปลอดภัย ก่อนจะล่องแก่งหินเพิงทุกครั้ง นักท่องเที่ยวจึงจำเป็นจะต้องรับฟังและเรียนรู้ทักษะการบังคับเรือเบื้องต้นก่อน รวมทั้งการช่วยเหลือตนเองในกรณีพลัดตกเรือจากเจ้าหน้าที่ผู้ที่ได้รับการอบรมและมีความชำนาญ
หลังจากฟังการบรรยายและฝึกทักษะการพายเรือแล้ว จะต้องเดินเท้าจากบริเวณที่ทำการหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ที่ 9 ( ขญ .9) ไปยังต้นแก่ง ระยะทางประมาณ 2.5 กิโลเมตร ระหว่างทางนักท่องเที่ยวจะได้ศึกษาระบบนิเวศที่เกื้อหนุนการดำรงอยู่ของสิ่งต่าง ๆ ที่ช่วยเพิ่มจุดสนใจจนเป็นเส้นทางเดินชมธรรมชาติที่คงความอุดมสมบูรณ์ของพรรณไม้ เมื่อถึงจุดเริ่มต้นของการล่องแก่งผ่านแก่งหินเพิงแก่งวังหนามล้อม แก่งวังบอน แก่งลูกเสือ แก่งวังไทร แก่งงูเห่า และมีจุดหมายปลายทางที่ท่าเรือบริเวณ ขญ . 9


การเดินทางล่องแก่งหินเพิง ใช้ถนนสุวรรณศร ทางหลวงหมายเลข 33 ผ่านนครนายก – ปราจีนบุรี – ประจันตคาม - ตรงไปทางอำเภอกบินทร์บุรีบริเวณหลัก กม.201 ให้สังเกตสถานีบริการน้ำมันและโรงเรียนวัดสระดู่ทางซ้ายมือ มีถนน รพช. สระดู่ – สะพานหิน ให้เลี้ยวซ้ายวิ่งเข้าไปประมาณ 17 กิโลเมตร ถึงโรงเรียนบ้านหนองแหน เลี้ยวซ้ายไปอีก 7 กิโลเมตร ถึง ขญ. 9

ผืนป่าดงพญาเย็น - เขาใหญ่


มรดกโลก ป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่ เป็นมรดกโลกแหล่งที่ 5 ของไทย และเป็นอันดับที่ 2 ของมรดกทางธรรมชาติไทย ได้รับการลงทะเบียนเป็นมรดกโลกเมื่อวันที่ 10-17 กรกฎาคม พ.ศ. 2548 ณ กรุงเดอแบน ประเทศแอฟริกาใต้ ประกอบไปด้วย อุทยานแห่งชาติ 4 แห่ง และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอีก 1 แห่ง กินพื้นที่อยู่ใน 6 จังหวัด ได้แก่ นครราชสีมา สระบุรี นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว และบุรีรัมย์ มีพื้นที่รวมทั้งสิ้นราว 3,874,863 ไร่ หรือ 6,155 ตารางกิโลเมตร ถูกเรียกว่าเป็น ผืนป่าตะวันออก ซึ่งเปรียบเทียบกับผืนป่าตะวันตก ในเขตจังหวัดตาก และรอบๆ